ไวน์(wine) หรือเหล้าองุ่น เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เป็นผลิตผลมาจากการนำเอาองุ่นไปบด หมักและบ่ม เกิดเป็นน้ำองุ่นสีแดง สีชมพู
สีขาว ที่มีแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ด้วย เราเรียกน้ำองุ่นเหล่านี้ว่าไวน์แดง
[red wine] ไวน์สีชมพู [rose' wine หรือ pink wine] และไวน์ขาว [white
wine] โดยมีองค์ประกอบหลักเป็น ethyl alcohol น้ำตาล แร่ธาตุ วิตามิน
สารเคมีจำพวก polyphenols , aldehydes , ketones และกรดอินทรีย์อีกมากมาย มีการแบ่งแยกไวน์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. Still wine เป็นไวน์ที่มีผู้นิยมดื่มกันมากที่สุด มีแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นเองในระหว่างการหมักประมาณ 8-14% vol 2. Fortified wine เป็น Still wine ที่นำมาปรุงแต่งโดยเอาบรั่นดีหรือว้อดก้าผสมลงไปก่อนที่จะทำการบรรจุขวด มีแอลกอฮอล์ประมาณ 18-24% vol fortified wine ที่ปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร เปลือกไม้ รากไม้ ในระหว่างการผลิตจะเรียกว่า aperitif wine หรือ aromatized wine ใช้เป็นเครื่องดื่มก่อนรับประทานอาหาร ที่รู้จักกันดีคือไวน์ vermouth fortified wine ที่ไม่ปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศแต่มีความหวาน ใช้ดื่มกับของหวานและผลไม้ จะเรียกว่า dessert wine เช่นไวน์ Sherry และไวน์ Port 3. Sparkling wine เป็นไวน์ที่มีก๊าซ carbon dioxide เพราะมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างจาก Still wine คือจะมีการหมัก 2 ครั้ง นิยมดื่มฉลองในโอกาสสำคัญ ที่รู้จักกันดีคือ Champagne |
ไวน์แดง เสิร์ฟตามอุณหภูมิห้อง และไม่ควรอุ่นให้ร้อน เช่น การแช่ขวดลงในน้ำร้อน ไวน์แดงรสเบา จะมีรสชาติดีที่สุดที่อุณหภูมิ 12-14 องศาเซลเซียส ไวน์ แดงรสหนักควรเสิร์ฟที่อุณหภูมิห้องที่เย็นปานกลางระหว่าง 15-18 องศาเซลเซียส หมายเหตุ ข้อมูลอุณหภูมิของไวน์ จะอ้างอิงกับอากาศของต่างประเทศ ที่มีความหนาวเย็นกว่าบ้านเรา คำว่า “อุณหภูมิห้อง” สำหรับต่างประเทศจะอยู่ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 14-18 องศาเซลเซียส การเติมไวน์ในแก้ว ไวน์ ขาว เป็นไวน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว จึงควรดื่มให้หมดแก้ว ก่อนแล้วจึงค่อยรินไวน์เติมลงไป ไวน์แดง มีการปรับตัวได้ง่ายกว่าไวน์ขาว จึงสามารถรินไวน์เติมได้ก่อนที่ไวน์ในแก้วนั้นจะหมด ไวน์ ไม่ควรผสมกันระหว่างไวน์แดงกับไวน์ขาว ต้องเปลี่ยนแก้ว เพราะจะทำให้รสชาติของไวน์ผิดเพี้ยนเป็นอย่างมาก |
คณะ
นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health - NIH)
ของประเทศสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่า สาร resveratrol เป็นสารเคมีตามธรรมชาติ
ซึ่งพบในไวน์แดง และผลิตภัณฑ์จากพืชต่างๆ อาจเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
นักวิจัยได้เสนอหลักฐานว่าสาร resveratrol ไม่ได้กระตุ้น sirtuin 1 โดยตรง
(สาร sirtuin 1 คือ โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอย)
แต่ในทางตรงกันข้ามผู้วิจัยพบว่า resveratrol ช่วยยับยั้งการ
ทำงานของเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า phosphodiesterase (PDEs) ซึ่งทำ
หน้าที่ช่วยควบคุมการใช้พลังงานของเซลล์
การ
ค้นพบนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระบวนการ ทางชีวเคมีของ resveratrol
และเป็นการปูทางสำหรับการพัฒนา ทางยาที่ใช้ resveratrol เป็นส่วนประกอบ
ซึ่งสารดังกล่าวเป็นที่
สนใจอย่างมากจากบริษัทยาสำหรับความเป็นไปได้ในการต่อสู้กับ โรคเบาหวาน
การอักเสบ และโรคมะเร็ง การศึกษานี้ตีพิมพ์ อยู่ในนิตยสาร Cell ฉบับที่ 3
ของเดือนกุมภาพันธ์
ดร.
Jay H. Chung หัวหน้าทีมวิจัยและเป็นหัวหน้าของ the Laboratory of
Obesityand Aging Research ที่สถาบันหัวใจ ของ NIH กล่าวว่า
มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ resveratrol เพื่อใช้ ในการรักษาโรคได้หลายชนิด
ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความจำเสื่อม และโรคหัวใจ
แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการ
ศึกษาถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการนำไปผลิตยา
จะต้องทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของสารนี้ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ก่อน
มี
การศึกษาก่อนหน้านี้ได้กล่าวว่าเป้าหมายหลักของสาร resveratrol ก็คือโปรตีน
sirtuin 1 แต่จากผลการวิจัยของ ดร. Chung และคณะ พบว่าการทำงานของสาร
resveratrol จะ ต้องทำงานร่วมกับโปรตีนตัวอื่นที่ชื่อว่า AMPK ด้วย
ในกรณีนี้แสดง ให้เห็นว่าสาร resveratrol
ไม่ได้ทำปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับโปรตีน sirtuin 1
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น